Sunday, November 23, 2014

จากการแลกเปลี่ยน พัฒนาสู่ การทำธุรกิจสีเขียว

ที่มาของการแลกเปลี่ยนจนนำไปสู่การทำธุรกิจ
สังคมมีระบบเศรษฐกิจแบบง่าย ๆ โดยแต่ละคนมีความสามารถจัดหาสิ่งของตอบสนองความต้องการของตนเองและครอบครัวได้ เช่น การปลูกข้าว ปลูกผัก การจัดหาอาหาร ถักทอเครื่องนุ่งห่ม และสร้างบ้านอยู่อาศัย หากมีสิ่งของเหล่านั้นเหลือใช้ จะนำไปแลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่น ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน ที่เรียกว่า ระบบแลกเปลี่ยน (Barter System) 


แต่ระบบแลกเปลี่ยนนี้ยังคงมีความซับซ้อนและยุ่งยาก แต่ละคนมีความต้องการไม่ตรงกัน ขาดความยุติธรรมในการแลกเปลี่ยน 



จึงมีการพัฒนาระบบใหม่โดยใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ที่ผู้ผลิตสินค้าและบริการนำสินค้ามาขาย  จึงเกิด
  1. ผู้ผลิต 
  2. ผู้จำหน่าย พ่อค้าคนกลาง 
  3.  ผู้บริโภคคนสุดท้าย



เมื่อมีระบบตลาดเข้ามา จากเดิมที่ผลิตสิ่งของตามของต้องการที่จำเป็นของตัวเองแล้วก็เริ่มเป็นการผลิตเพื่อนำไปขายแล้วนำเงินที่ได้ไปหาซื้อสิ่งของที่ตนเองต้องการแต่ไม่สามารถผลิตเองได้ เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไปเป้าหมายของการทำงานของผู้คนก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเป็นการผลิตเพื่อหาผลกำไรเป็นหลัก ที่เรียกว่า การทำธุรกิจ





ความหมายของธุรกิจ

ธุรกิจ(Business) หมายถึง การกระทำหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่าย และการให้บริการ

โดยกลุ่มบุคคลมีการกระทำร่วมกันเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ กำไร หรือรายได้ เป็นการตอบแทนการลงทุนด้วยทรัพย์สินและแรงงานในกิจกรรมนั้น การกระทำดังกล่าวอาจจะเสี่ยงต่อการขาดทุนด้วย

วัตถุประสงค์ของธุรกิจ
ผู้ประกอบการมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจ ดังนี้
1 .ผลกำไร(Profit)
วัตถุประสงค์สำคัญของการดำเนินธุรกิจ คือ ผลกำไร ผลกำไรจึงเป็นสิ่งจูงใจให้ดำเนินกิจกรรมต่อไป หากธุรกิจไม่มีผลกำไร ก็จะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ดังนั้นผู้ผลิตเมื่อผลิตสินค้าและบริการแล้วจะต้องขายได้สูงกว่าต้นทุนและค่าใช้จ่าย ผลต่างคือกำไรจากการประกอบการ

2 .ความอยู่รอด (Survival)
ความต้องการให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ และมีอายุของกิจการยาวนาน

3 .ความรับผิดชอบต่อสังคม(Social Responsibilities)
ความรับผิดชอบของธุรกิจ คือ มีความซื่อสัตย์กับลูกค้า สังคมและสิ่งแวดล้อม มีความยุติธรรมกับทุกคนในสังคม ประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม เช่น ไม่ผลิตหรือค้าขายสิ่งเสพติดผิดกฎหมาย ไม่ปลอมปนสินค้า ไม่ใช้แรงงานเด็ก ฯลฯ





ธุรกิจสีเขียว



ธุรกิจสีเขียว” หมายถึงบริษัทหรือองค์กรภาคธุรกิจที่มีความตั้งใจที่จะดำเนินธุรกิจของตนโดยไม่ปรารถนาที่จะทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบใดๆ ต่อสภาพแวดล้อมของโลก และต่อสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น ชุมชน และสังคมที่อยู่รอบข้าง และยังอาจมีความหมายรวมไปถึง การไม่ต้องการสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจอีกด้วย

ธูรกิจสีเขียว มักจะให้ความสำคัญต่อผลลัพธ์ทางธุรกิจใน 3 ด้านสำคัญ ที่เรียกว่า
TRIPLE BOTTOM LINE ซึ่งได้แก่

  • PEOPLE ผลลัพธ์ที่จะเกิดต่อมนุษยโลกที่เกี่ยวข้อง,
  • PLANET ผลกระทบที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อม สภาวะอากาศ และการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของโลกมนุษย์, และ
  • PROFIT ซึ่งเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

การทำการตลาดสีเขียวขั้นต้นนั้น มีวิธีสำคัญ 3 วิธี

1.ช่วยเหลือสภาพแวดล้อมของโลกทั้งในเชิงกว้างและในระดับสังคมชุมชน

2.นำเสนอสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

3.การใช้วัสดุประกอบการตลาด อาทิ กระดาษรีไซเคิล


การตลาดสีเขียว


ลักษณะของการตลาดสีเขียว มีลักษณะดังนี้ คือ

(1)
ไม่แสวงหากำไรสูงสุดในสินค้า แต่มุ่งเน้นพัฒาสินค้าอย่างยั่งยืน เช่น สินค้าทำจากวัสดุรีไซเคิล สินค้าที่ประหยัดน้ำ ไฟฟ้า เชื้อเพลิง หรือประหยัดเงินเวลาใช้งาน หรือสินค้าที่มีหีบห่อไม่เป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อม

(2)
เป็นการแข่งขันกันทางธุรกิจแบบเกื้อกูลและเอื้ออาทรต่อกัน ไม่ใช่แข่งเพื่อเอาชนะหรือทำลายคู่แข่งให้หมดสภาพ

(3)
ทำเพื่อประโยชน์ของลูกค้าและคืนประโยชน์ให้สังคม ไม่ใช่เพื่อลูกค้าเพียงอย่างเดียว  เพราะนอกจากธุรกิจจะต้องเสียภาษีแล้ว ยังจะต้องจัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมและสังคมทุกปี เช่น จัดตั้งมูลนิธิที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

(4)
ส่งเสริมให้ความรู้มิใช่เพื่อการขายเพียงอย่างเดียว หากลูกค้าไม่มีความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดปัญหาเปลี่ยนสินค้า หรือไม่ได้นำไปใช้ต่อ ก็เท่ากับเป็นการผลาญทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดอรรถประโยชน์สูงสุด (สิทธิชัย ฝรั่งทอง, 2548)

    
ดังนั้น การตลาดสีเขียวจึงไม่ใช่กลยุทธ์การตลาดเพื่อเอาชนะกันทางธุรกิจ แต่เป็นการสร้างจิตสำนึกที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยรวม ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังต้องส่งเสริมสร้างสรรค์ให้เกิดผลดีต่อสังคมส่วนรวม


     ระดับของการตลาดสีเขียว



ซึ่งระดับของการตลาดสีเขียวยังสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับ Green, ระดับ Greener และระดับ Greenest โดยแต่ละระดับจะมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน (อภิรักษ์ อภิสารธนรักษ์, 2553) ดังต่อไปนี้

     (1)
ระดับแรก คือ ระดับ Green เป็นการมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการผลิตสินค้าของตนเองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าผู้ผลิตอื่นๆ  เช่น 

  • เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน ที่มีเบอร์ 5 เป็นสัญลักษณ์ 
  • รถยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทนน้ำมัน เช่น ก๊าซ LPG, NGV 
  • การใช้กล่องบรรจุสินค้าที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้

 เกณฑ์การวัดผลก็ยังต้องดูที่ยอดขายสินค้า ไม่ได้วัดว่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมมากน้อยเพียงใด

    (2)
ระดับ Greener เมื่อเปรียบเทียบกับการตลาดระดับ Green แล้วนั้น Greener มีจุดประสงค์มากกว่าการทำแค่ยอดขาย แต่หวังผลด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยแท้จริง โดยส่งเสริมให้ผู้บริโภคมาร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากรมากขึ้น เช่น 
นอกจากขายรถยนต์ประหยัดพลังงานแล้ว ยังมีการรณรงค์ให้คนใช้รถอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น มีการจัดกิจกรรมตรวจสอบสภาพรถ และให้ความรู้ว่าการหมั่นตรวจสภาพรถ จะประหยัดน้ำมัน และลดปริมาณไอเสียที่ปล่อยออกมาสู่อากาศด้วย ดังนั้น 
ตัววัดในที่นี้จึงมีทั้งยอดขายและจำนวนคนที่มาร่วมกิจกรรม

    (3)
ระดับ Greenest ขณะที่การตลาดระดับ Green คือการขายผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ระดับ Greener คือการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือหรือเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้สินค้าหรือบริการ แต่ระดับ Greenest จะเป็นระดับที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่และก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคมด้วย เช่น รณรงค์การไปทางเดียวกัน ไปรถคันเดียวกัน เป็นการปลูกจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม

แหล่งอ้างอิง
http://krusuranart.com/index.php/2011-11-24-13-35-31/2012-01-19-09-35-55

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/ceo-blogs/rewat/20100717/343542/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7.html


http://www.smeservicecenter.net/public/uploads/p13799222266174624914.pdf

http://www.mmthailand.com/mmnew/green-march.html

No comments:

Post a Comment