Monday, November 10, 2014

ตัวอย่าง ตารางเปรียบเทียบเหมือนต่าง ภูมิสังคม-วัฒนธรรมข้าวในอาเซียน



ตัวอย่างข้อมูลของประเทศญี่ปุ่น


ญี่ปุ่น



ญี่ปุ่นมีเนื้อที่กว่า 377,930 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 61 ของโลก หมู่เกาะญี่ปุ่นประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 3,000 เกาะ เกาะของญี่ปุ่นส่วนมากจะเป็นหมู่เกาะภูเขา ซึ่งในนั้นมีจำนวนหนึ่งเป็นภูเขาไฟ เช่นภูเขาไฟฟูจิ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ เป็นต้น ประชากรของญี่ปุ่นนั้นมีมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก คือประมาณ 128 ล้านคน เมืองหลวงของญี่ปุ่นคือกรุงโตเกียว ซึ่งถ้ารวมบริเวณปริมณฑลเข้าไปด้วยแล้วจะกลายเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประชากรอยู่อาศัยมากกว่า 30 ล้านคน


ใน พ.ศ. 2548 พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 12.6 และมีประชากรที่ประกอบการเกษตรเพียงร้อยละ 6.6 เท่านั้น ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ได้แก่ไหม กะหล่ำปลี ข้าว มัน และชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารถึงร้อยละ 60 จึงเป็นประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงตนเองค่อนข้างต่ำ ในระยะหลังกระแสความกังวลเรื่องความปลอดภัยของอาหารทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศเป็นที่ต้องการมากขึ้นอาหาร
ชาวญี่ปุ่นกินข้าวเป็นอาหารหลัก อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงได้แก่ซูชิ, เท็มปุระ, สุกียากี้, ยะกิโทะริ และ โซบะ เป็นต้น  อาหารญี่ปุ่นหลายอย่างดัดแปลงจากอาหารต่างประเทศ เช่น ทงกะสึ, ราเม็ง และ แกงกะหรี่ญี่ปุ่น อาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศเพราะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จากการสำรวจพบว่าในปี 2006 มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากกว่า 20,000 แห่งทั่วโลก
ชาวญี่ปุ่นมีความพิถีพิถันในการเลือกวัตถุดิบจึงทำให้มีอาหารประจำท้องถิ่น และอาหารประจำฤดู  วัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ในอาหารญี่ปุ่นคือ ซึ่งนำมาทำโชยุ, มิโซะ,เต้าหู้ถั่วแดงซึ่งมักนำมาทำขนม และสาหร่ายชนิดต่าง ๆ เช่นคมบุ นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังนิยมกินซะชิมิหรืออาหารทะเลดิบอีกด้วย
ชาในญี่ปุ่นมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างไปตามกรรมวิธีการผลิตและส่วนผสม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่นคือเหล้าสาเก (หรือนิฮงชุ) ซึ่งผลิตโดยใช้วิธีหมักข้าว และโชชูซึ่งเป็นเหล้าที่เกิดจากการกลั่น


ประเพณีเกี่ยวกับข้าว
ความเชื่อของชาวญี่ปุ่นในช่วงหลังเทศกาลปีใหม่ ทันที ที่วัดตีระฆังส่งท้ายปีเก่า หรือสัปดาห์แรกของปีใหม่ คนญี่ปุ่นจะไปวัดชินโตหรือวัดพุทธเป็นครั้งแรก โดยผู้คนจะโอนเงินลงในกล่อง และขอพร ให้มีสุขภาพแข็งแรง หลังจากไหว้พระแล้วก็จะมีการซื้อโอมาโมริ เครื่องรางนำโชคหรือลูกศรศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีขนนกสีขาวประดับอยู่ มีการเสี่ยงเซียมซี ใบเซียมซีเขียนด้วยตัวคันจิ ว่าจะดีหรือร้าย ถ้าไม่ค่อยดี ก็จะผูกไว้กับกิ่งไม้ในวัดเพื่อให้ดวงชะตาดีขึ้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้ดูไปดูมาก็คลับคล้ายคลับครากับของบ้านเรา ที่ปีใหม่จะมีการทำบุญตักบาตร ไปไหว้พระ ฟังเทศน์กันที่วัด ตามแต่ละความเชื่อและศรัทธาของแต่ละคนกันไป ยิ่งกว่านั้นยังมีความเชื่อที่น่าสนใจ ในช่วงหลังปีใหม่ไม่นาน ที่น่าสนใจอย่าง ประเพณีทานข้าวต้มใส่สมุนไพร 7 ชนิด ของฤดูใบไม้ผลิ ในวันที่ 7 ของปีใหม่ ด้วยเหตุผล ตามที่ทราบ ๆ จากคนญี่ปุ่นนั้น ว่ากันมาว่า เชื่อกันว่าจะช่วยป้องกันโรคหวัด และโรคอื่น ๆ ไม่ให้มากล้ำกราย ประเพณีนี้มีเริ่มแรกในสมัยเฮอัน และพวก สมุนไพร 7 อย่างในฤดูใบไม้ผลิของเขา นั่นก็ได้แก่ ซูซูชิโระ(すずしろ) ซูซูนะ(すずな) เซริ(せいり) นาซูนะ(なすうな) โกะเงียว(ごぎょう)โฮโตเคโนะซะ(ほとけのざ) ฮาโกเบระ(はこべら)

ตำนานเรื่องข้าว

บางตำนานเล่าว่าเทพอินาริเคยมีพระชายา (คงเป็นเทพอินาริที่เป็นบุรุษชรามีเคราดก) คือ ยูเกะ โมชิ
เทพีแห่งอาหาร ซึ่งตอนนั้นเทพียูเกะ โมชิ ทรงครอบครองตำแหน่งเทพเจ้าแห่งกสิกรรมมาก่อนที่เทพอินาริผู้เป็นพระสวามีจะมาดำรงตำแหน่งเป็นเทพเจ้าแห่งกสิกรรมแทนพระชายา ซึ่งต่อมาเทพียูเกะ โมชิทรงสิ้นบุญลงด้วยการถูกเทพสึคิโยมิ เทพแห่งดวงจันทร์ พระอนุชาองค์โปรดแห่งพระเทพีอมาเตระสุ เทพีแห่งดวงอาทิตย์ผู้เป็นจักรพรรดินีแห่งสรวงสวรรค์สังหาร ร่างของเทพีแห่งอาหารจึงตกมายังโลกเบื้องล่างกลายเป็น ธัญหาร ต่างๆ เช่น ข้าว , ถั่ว, งา และพืชผลทางการเกษตรต่างๆบนโลก การที่เทพอินาริทรงกลายเป็นเทพแห่งกสิกรรมแทนพระชายาผู้ล่วงลับเท่ากับว่า เทพอินาริเป็นผู้คุ้มครอง
ร่างของพระชายาอันเป็นที่รักไปด้วย เพราะข้าว และ ธัญพืชต่างๆนั้นล้วนเกิดมาจากร่างของเทพียูเกะ โมชิ ทั้งนั้น ช่างเป็นตำนานความรักอันยิ่งใหญ่ที่แฝงอยู่เบื้องหลังแห่งเทพเจ้าแห่งกสิกรรมมาจนถึงปัจจุบัน
จุดเด่นหนึ่งของศาลเจ้าอินารินั้นคือ ซุ้มประตูไม้สีแดงที่เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาชินโต หรือ ประตูสวรรค์ ซึ่งมักใช้ระบุแสดงถึงอาณาเขตว่าเป็นที่สถิตของเทพเจ้า ต่อเรียงกันอย่างสวยงามแปลกตาต่อผู้มาเยี่ยมเยือน



การเปรียบเทียบข้อมูลด้วยตารางเปรียบเทียบเทียบ เหมือนต่าง
ตารางเปรียบเทียบภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการปลูกข้าวของประเทศ ไทย และประเทศ ญี่ปุ่น. (ใบข้อมูลที่ ๑)

ความเหมือน
ความต่าง
ภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการปลูกข้าว






ตารางเปรียบเทียบวัฒนธรรมการกินข้าวของประเทศไทย และประเทศ ญี่ปุ่น  (ใบข้อมูลที่ ๒)

ความเหมือน
ความต่าง
วัฒนธรรมการกินข้าว






ตารางเปรียบเทียบภูมิสังคม-วัฒนธรรมของข้าวระหว่างประเทศ ไทย และประเทศ ญี่ปุ่น  (ใบสรุป)

ความเหมือน
ความต่าง
ภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการปลูกข้าว



วัฒนธรรมการกินข้าว

       

ตำนาน พิธีกรรม ประเพณีและเทศกาลที่เกี่ยวกับข้าว



No comments:

Post a Comment