Monday, November 10, 2014

ภูมิสังคม-วัฒนธรรมและเศรษฐกิจข้าวของอาเซียน ชุดความรู้ 1

ภูมิสังคม-วัฒนธรรมและเศรษฐกิจข้าวของอาเซียน

 ประเทศไทย

แผนที่กายภาพของประเทศไทย
 
 ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการปลูกข้าว
ไทย มีพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร ด้วยสภาพพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงและภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ทำให้ประเทศไทยเหมาะในการทำเกษตรกรรม

ลักษณะภูมิประเทศที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของประเทศไทย คือ ภูเขาสูง ที่ราบลุ่มตอนกลาง และที่ราบสูง ภาคเหนือของไทยมีภูเขาทอดผ่านเป็นจำนวนมาก ที่ราบตอนกลางเป็นพื้นที่ลุ่มซึ่งระบายน้ำโดยแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสายย่อยๆ ในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเป็นที่ราบสูง พื้นที่มีเนินลาดและทะเลสาบตื้นเขินมีแม่น้ำมูล แม่น้ำชีไหลลงสู่แม่น้ำโขง

แม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นระบบแม่น้ำที่สำคัญของประเทศ โดยไหล่ผ่านไปสู่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำซึ่งอยู่ที่อ่าวไทย แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านพื้นที่กว่าหนึ่งในสามของประเทศทำให้ประเทศไทยมีพื้นที่ราบลุ่มที่กว้างขวาง

วิถีการกินของคนไทย
 คนไทยกินข้าวกับ “กับข้าว” ที่ปรุงจากพืชผัก เนื้อสัตว์นานาชนิดจากธรรมชาติรอบตัว ด้วยวิธีการที่บรรพบุรุษได้ทดลอง คัดเลือก และผสมผสานไว้อย่างเหมาะสม ซึ่งเรียกกันติดปากว่า “ต้ม ยำ ตำ แกง” ที่มีวัตถุดิบและรสชาดแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ทำให้ศไทยมีพื้นที่ราบลุ่มที่กว้างขวาง
อาหารไทยมีความหลากหลาย สัมพันธ์กับทรัพยากร สภาพภูมิประเทศ ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยที่แบ่งได้ดังนี้


คนไทยชอบความกลมกล่อมและความหลากหลายของรสชาติอาหารและส่วนประกอบ ดังนั้นเมื่อมีการสั่งอาหารสำหรับหลายๆคน อาหารที่สั่งก็มักจะเป็นซุปซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นซุปที่มีรสชาติเผ็ดร้อน แกง ปลาหรือเนื้อสัตว์ ผัก และสลัดแบบไทยๆ (ยำ)



ตำนานที่เกี่ยวกับข้าวของคนไทย


ตำนานแม่โพสพ
แม่โพสพเป็นเทวีแห่งข้าวมีพาหนะเป็นปลากรายทองและปลาสำเภา ในวันหนึ่งที่เมืองไพสาลีกลางสโมสรสันนิบาตมนุษย์ได้ปรึกษากันว่าระหว่างพระพุทธเจ้ากับแม่โพสพใครมีคุณมากกว่ากันที่ประชุมต่างพากันกล่าวว่า คุณพระพุทธเจ้าใหญ่กว่าแม่โพสพและพระเพชรฉลูกรรณได้ฟังดังนั้นก็ข้องใจว่าเรารักษามนุษย์อยู่มนุษย์ไม่เห็นความดี จึงทรงปลากรายหนีไปยังป่าหิมพานต์เขาคชกูฎเมื่อแม่โพสพจากไปก็เกิดความอดอยากขึ้นในโลกมนุษย์ทำไร่ไถนาไม่มีข้าวมีแต่แกลบ มนุษย์จึงชวนกันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าให้พระมาตุลีไปเชิญนางกลับมาพระมาตุลีตามไปจนถึงเขาทบกันก็ไปไม่ได้ จึงใช้ให้ปลาสลาดไปตามต่อจนพบปลาสลาดได้อ้อนวอนขอให้นางกลับคืนโลก นางตอบว่า อยู่ที่นี่เราสบายถ้าจะไปใจแม่หายเพราะเขาไม่รู้บุญคุณ แม่จะให้แต่เมล็ดข้าวไปรักษาแก่ฝูงคนเมื่อเก็บนึกถึงเรา เราจะไปปีละหน เก็บเกี่ยวแล้วให้ทำขวัญนางได้มอบเมล็ดข้าว ๗ เมล็ด (บ้างก็ว่า ๙ เมล็ดไปทำพันธุ์พระเพชรฉลูกรรณให้ให้แม่เหล็ก ๑ อัน สำหรับตั้งพร้า นางยังสั่งด้วยว่าเมื่อมนุษย์ทำไร่ไถนาเมื่อข้าวใกล้สุกก็จัดให้มีพิธีทำขวัญให้แต่งด้วยข้าวขวัญและด้วยเหตุที่ปลาสลาดเป็นผุ้บอกทางที่นางซ่อนแก่พระมาตุลีนางจึงสั่งให้นำปลาสลาดมาเป็นเครื่องเซ่นสังเวยด้วยปลาสลาดก็ลากลับมาเล่าให้พระมาตุลีฟังตามคำแม่โพสพพระมาตุลีรับเมล็ดข้าวแล้วก็เหาะกลับในระหว่างทางพระมาตุลีจึงหยุดพักอาบน้ำนกกระจาบได้แอบลักเมล็ดข้าวสองเมล็ดบินหนีข้าวสองเมล็ดนั้นได้ตกลงมายังโลกมนุษย์กลายเป็นข้าวผีพระมาตุลีนำเมล็ดพันธุ์ข้าวถวายพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าจึงเรียกมนุษย์มาพร้อมกัน ทรงอธิบายให้มนุษย์ฟังและแจกเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่มนุษย์ ตั้งแต่นั้นมาเมื่อข้าวใกล้สุกมนุษย์จะทำขวัญเชิญแม่โพสพเป็นประจำทุกปี


กัมพูชา

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการปลูกข้าว

กัมพูชา มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปมีทั้งที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง และภูเขา พื้นที่ตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำบาสสัค (Bassac) และมีทะเลสาบเขมรขนาดใหญ่ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนรอบๆ ประเทศมีเทือกเขาสลับซับซ้อน ติดต่อกันเป็นแนวยาว ส่วนภูเขาที่เป็นหย่อมๆ มีอยู่บริเวณเกาะกง กำปงโสม และกำปงสะบือ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ

วิถีการกินของคนกัมพูชา

อาหารกัมพูชาคล้ายกับอาหารไทย และได้รับอิทธิพลจากอาหารต่างชาติค่อนข้างมาก เช่น ในเมืองใหญ่จะมีอาหารเวียดนามบริการ เช่น เฝอ ปอเปี๊ยะ ปากหม้อ ข้าวเกรียบอ่อน ขนมจีนหมูย่าง อาหารประเภทผัดผัก หรืออาหารเส้นได้รับวัฒนธรรมจากประเทศจีน (เส้นทําจากแป้งขาว)

แกงกะหรี่ได้รับอิทธิพลมากจากอินเดีย ซึ่งมีบทบาทต่อกัมพูชามากในประวัติศาสตร์ ยังพบเห็นอาหารที่รับวัฒนธรรมจากทางตะวันตก เช่น ลกละ ซึ่งเป็น สเต็กเนื้อหั๋นเป็นลูกเต๋า ขนมปังปะเต ขนมปังฝรั่งเศส ใส่ไส้แฮม หมูยอ ต้นหอม เนื้อบด นิยมรับประทาน เป็นอาหารเช้า อาหารกัมพูชารสชาติไม่จัดจ้าน การปรุงรสเผ็ดใช้พริกไทยเป็นหลัก ในน้ำพริกนั้นจะใช้พริกไทยทําให้เกิดรสเผ็ด ใช้น้ำปลา กะปิ และปลาร้า

ชาวกัมพูชารับประทานข้าวเจ้าเป็นหลัก ข้าวเหนียวนิยมทําขนมและของหวาน ของหวานจากข้าวเหนียวที่เป็นที่นิยมคือ ข้าวต้มมัด/ข้าวต้มผัด ใส่กล้วย และข้าวต้มมัด/ผัด ใส่หมูและถั่วเขียว (คล้ายไส้ขนมเทียน) ซึ่งใช้ในช่วงเทศกาลปีใหม่


เวียดนาม


ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการปลูกข้าว

เวียดนามมีพื้นที่ 331,033 ตารางกิโลเมตร ทางตอนเหนือของเวียดนามมีที่ราบอยู่หลายแห่ง ที่กินอาณาเขตอยู่บนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงอันกว้างใหญ่ แม่น้ำแดงนั้นไหลจากต้นกำเนิดในมณฑลยูนนานของจีน ผ่านตอนเหนือของเวียดนาม และไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทะเลเวียดนามกลาง
แม่น้ำโขง หรือแม่น้ำเก้ามังกร


นี้เป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดในเขตเทือกเขาของทิเบตข้ามจีน ผ่านพม่า เข้าไปในลาว และตอนเหนือของไทย จากนั้นจึงไหลผ่านประเทศกัมพูชา ก่อนที่จะไหลไปออกทะเลจีนใต้ทางตอนใต้ของเวียดนาม ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง กินอาณาเขตกว่า 75,000 ตารางกิโลเมตร ดินตะกอนเหล่านี้ไม่ได้เพิ่มพูนขึ้นบนดินดอนสามเหลี่ยมธรรมชาติ แต่ค่อนไปทางปากแม่น้ำโขงและรอบคาบสมุทรก่าเมา (Camau) จึงส่งผลให้เวียดนามใต้มีเนื้อที่กว้างขึ้นทุกปี


วิถีการกินของคนเวียดนาม

เวียดนามรับประทานข้าวเป็นหลัก อาหารเวียดนามแตกต่างกันไปในแต่ละภาค เวียดนามเหนือ อาหารมักรสชาติอ่อนกว่า มีการใช้เครื่องเทศน้อย นิยมอาหารทะเล และได้รับวัฒนธรรมอาหารจีนมาก ที่เมืองเว้ ในแต่ละมื้อมีอาหารหลายอย่าง อาหารทางตอนใต้ มีผักผลไม้อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญของประเทศ มีการใช้กะทิและน้ำตาลอาหารได้รับอิทธิพลจากทางฝรั่งเศสค่อนข้างมาก
เวียดนามรับวัฒนธรรมการกินอาหารเส้น กินอาหารแยกข้าวกับกับข้าว การใช้ตะเกียบ 
การใช้กระทะการนึ่งด้วยลังถึง และอาหารผัดมาจากชาวจีน
แต่นิยมใช้น้ำมันน้อยกว่า รับวัฒนธรรมการเคี่ยวซุป และการทอดน้ำมันท่วมจากฝรั่งเศส  

พม่า




ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการปลูกข้าว

พม่า มีพื้นที่ 678,034 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ศูนย์กลางของประเทศพม่าอยู่บริเวณแม่น้ำอิระวดี โดยในส่วนปากอ่าวเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่เป็นบริเวณกว้างใหญ่ยาว ต่อเนื่องกับพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงด้านบน โดยส่วนมากประชากรและพื้นที่เกษตรกรรมจะอยู่ติดกับแม่น้ำ อิระวดี ทางตอนตะวันตก เหนือ และตะวันออกของประเทศจะถูกห้อมล้อมด้วยหุบเขาสูง และที่ราบสูง ส่วนทางฝั่งตะวันตกจะถูกเรียกว่า อาระกัน ชิน และ เทือกเขาอาข่า จุดภูมิศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในพม่าจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันออก ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ที่ราบสูงฉาน

วิถีการกินของคนพม่า

อาหารพม่ารับวัฒนธรรมมาจากหลายเชื้อชาติ ตัวอย่างอาหารที่ได้รับวัฒนธรรมจากไทยคือเครื่องแกงและกะทิต่างๆ และการรับประทานก๋วยเตี๋ยวเป็นวัฒนธรรมที่รับจาก ชาวพม่านิยมรับประทานขนมจีนตอนเช้าเช่นเดียวกับชาวมอญ แกงกระหรี่ต่างๆ แกงสีเบี่ยง (มัสมั่น) รับวัฒนธรรมมาจากอินเดีย เพียงแต่แกงสีเบียงของพม่านิยมใส่ขิงมากขึ้น

ในแต่ละมื้อกับข้าวพม่ามีองค์ประกอบเป็นเนื้อและผักต่างๆ การปรุงรสอาหารใช้ เกลือ หัวหอม และกระเทียมเป็นเครื่องปรุงหลัก และใช้ขิง ตะไคร้ ผักชี ใบแมงลัก ใบมะขาม มะนาวหลวง ผงกะหรี่ พริก น้ำปลา ซีอิ๊ว ปลาร้า กะปิ (งะปิ) ถั่วเนา (แบโปะ) และปลาแหง

ชาวพม่ารับประทานขนมจีนในตอนเช้า เรียกว่า มงฮินกา “ขนมแกงขม” น้ำยาของมงฮินกาเป็น น้ำยาปลาประกอบด้วย หยวกกล้วย ปลากด หัวปลี ขมิ้นหอมแดง ตะไคร้ กระเทียม มีเครื่องเคียง คือไข่ต้ม ถั่วเน่าแผ่นทอด น้ำเต้า หรือ ฟักชุบแป้ง ทอด ปรุงรสด้วย พริกผัด ผักชี และกระเทียมเจียว อาหารที่เรียกว่า โองโนะเขาซแว คือข้าวซอยเช่นทางภาคเหนือของประเทศไทย

ลาว

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการปลูกข้าว

สปป.ลาวมีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีทั้งเขตภูเขาและที่ราบ ในนั้นมีเขตที่ราบสูง และ และภูเขารวมเนื้อที่ 3/4 ของเนื้อที่ทั้งหมด เป็นประเทศหนึ่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแม่น้ำลำห้วย ซึ่งเรียงรายอยู่ตั้งแต่เหนือจรดใต้ แม่น้ำโขงไหลผ่านยาว 1,835 กิโลเมตร นอกจากแม่น้ำโขงแล้ว ยังมีแม่น้ำสายต่างๆ มากมาย เขตภาคเหนือ เป็นเขตภูเขาสูง ทางตะวันออกเฉียงใต้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่งคือ ที่ราบเมืองพวน ที่ราบสูงนากาย และที่ราบบริเวณ (ภาคใต้) จุดภูมิศาสตร์สำคัญ คือ เขตที่ราบเวียงจันทน์ ที่ราบสะหวันนะเขด ที่ราบจำปาสัก ซึ่งเหยียดยาวตามแนวฝั่งน้ำโขงไปถึงชายแดนไทย และ กัมพูชา เป็นที่ราบซึ่งรวมเอาพื้นที่ 1/4 ของประเทศนี้ ที่มีดินเพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์ งอกงาม เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ.

วิถีการกินของคนลาว

ชาวลาวมีวัฒนธรรมการกินข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับคนไทยอีสาน เพียงแค่มีข้าวเหนียวและกับข้าว ปรุงอย่างง่ายๆ ไม่กี่อย่าง เช่น ปลาร้า ปลาปิ้ง น้ำพริก ผักพื้นเมือง ใส่พาข้าว (คล้ายขันโตทางเหนือของไทย) แล้วนั่งล้อมวงปูเสื่อ ก็จกข้าวเหนียวกินกันได้อย่างเอร็ดอร่อย นอกจากนี้ ชาวลาวยังกินอาหารประเภทแกง (ไม่ใส่กะทิ) ปิ้ง ย่าง อั่ว (ยัดไส้) นึ่ง ต้ม และยังมีวิธีการปรุงอาหารที่เรียกชื่อต่างจากชาวไทยอีสานคือ ขนาบ ซึ่งหมายถึงการห่ออาหารด้วยใบตองและนําไปย่างไฟอ่อนๆ ซึ่งการทําอาหาร ในลักษณะนี้ทางภาคเหนือของไทยเรียก แอบ การทําเอาะของลาว แตกต่างจากการทําอ่อมของไทย มักมีผู้เข้าใจผิดในชื่ออาหารนี้ เอาะหมายถึงการต้ม

ตัวอย่างสำรับอาหารลาวที่มักจัดใส่พาข้าวและรับประทานกันอย่างแพร่หลาย คือ ลาบ (น้ำพริก) แจ่ว อาหารดอง ลาบจัดเป็นอาหารประจําชาติ ในงานเทศกาลรื่นเริง หรืองานมงคล ชาวบ้านจะมารวมวงช่วยกันทําลาบด้วย คําว่าลาบพ้องเสียงกับคําว่า ลาภ ซึ่งมีความหมายเป็นสิริ ปกติชาวลาวจะทําลาบจากปลา ไก่ หรือ เป็ด การทําลาบเนื้อมักทํารับประทานกันในงานใหญ่ ส่วนผสมในลาบจะมีผักสมุนไพร มีข่าที่สับไปกับเนื้อลาบ หรือลาวทางหลวงพระบางจะทําลาบที่มีเครื่องเทศที่มีคุณสมบัติเป็นยาต่างๆ ลาวเวียงจันทน์จะทําลาบ

ตำนานที่เกี่ยวกับข้าวของคนลาว

  คนลาวเล่าเรื่อง เม็ดข้าวที่มีว่าบินมาเข้ายุ้งข้าวมากจนแม่หม้ายทำยุ้งรับไว้ไม่ทัน ข้าวจึงมากองอยู่เต็มใต้ถุน แม่หม้ายโกรธเอาไม้ตีข้าวจนแตกเป็นเม็ดเล็ก ปลิวไปตกที่สวรรค์บ้าง ตกในป่าบ้าง กลายเป็นข้าวดอยบ้าง กลายเป็นหัวกลอยบ้าง ที่ตกในหนองน้ำเรียกว่านางโกสบบ้าง การที่ข้าวถูกตี เป็นเหตุให้ข้าวโกรธและหนีไป ตั้งแต่นั้นมา ข้าวจึงไม่มาเอง เมื่อข้าวหนีไปอยู่ที่อื่นแล้ว จึงเกิดภาวะอดอยาก คนไม่มีข้าวกินไปนาน จนต้องมีการอ้อนวอนขอให้ขวัญข้าวกลับมา เมื่อนางกลับมา ในสมัยพระเจ้ากัสสปะ ก็มีพระยาคนหนึ่งสร้างยุ้งฉางขนาดใหญ่เก็บข้าวไว้จำนวนมาก ต่อมานำข้าวออกขาย เมื่อข้าวถูกขาย นางขวัญข้าวโกรธมากๆ หนีกลับไปอยู่ที่หนองน้ำ ทำให้คนอดอยากต่อไปอีก ร้อนถึงสองตายายไปขอให้ฤาษีขอร้องนางกลับมาอีกครั้ง


อินโดนีเชีย


ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการปลูกข้าว


อินโดนีเชีย มีพื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร อินโดนีเซียประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยกว่า 18,000 เกาะ มีภูเขาสูงอยู่ตามเกาะต่าง ๆ โดยทั่วไปเทือกเขาที่มีความสูงมาก ตามบริเวณเขามักมีภูเขาไฟ และมีที่ราบรอบเทือกเขา ชายเกาะมีความสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเลทำให้มีที่ราบบางแห่งเต็มไปด้วยหนอง บึง ที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ โดยทั่วไปมีพื้นที่ราบน้อย ส่วนใหญ่เป็นที่ราบบริเวณเชิงเขา และที่ราบชายฝั่งทะเลมักเป็นที่ราบต่ำ บริเวณทางทิศตะวันออกของเกาะสุมาตรา และทางตอนเหนือของเกาะชวา จะมีลักษณะเป็นที่ราบกว้างใหญ่คลุมไปถึงบริเวณริมฝั่งทะเล ลักษณะอากาศเป็นแบบศูนย์สูตรมีฝนตกชุกตลอดปี

วิถีการกินของคนอินโดนีเชีย

ข้าวอินโดนีเชียเป็นเมล็ดข้าวที่สั้นเวลาหุงแล้วจะออกเหนียวๆและไม่ร่วนเท่าข้าวของไทย ถึงเวลากินข้าวชาวบ้านเขาก็ล้อมวงกินข้าวด้วยสองมือไม่นิยมกินด้วยช้อนส้อม มีชามใส่น้ำล้างมือบีบเปลือกมะกรูดวางไว้ข้างๆ มีช้อนกลางไว้ตักกับข้าว ซึ่งจะมีแกงส้ม (syur asam สาย ยูร อะ สัม) กับข้าวอีกอย่างที่ยอดนิยมกิน คือ น้ำพริกทั้งที่เป็นน้ำพริกกะปิและที่ไม่ใส่กะปิ น้ำพริกกะปินี่จะใช้ทั้งพริกขี้หนูและพริกแดงใหญ่ สีสันน้ำพริกออกส้มๆ เรียกว่า sambal terasi (ซัม บั้ลล ตรา ซี) และน้ำพริกอื่นๆ ด้วย เรียกว่า lalapan (ลาลาปัน) นอกจากนี้ ยังมีไก่ทอด (ayam goreng อะ ยัม โก เรง) หรือไก่ผัดกับพริกแกงใส่มันฝรั่ง รวมถึงแกงมัสมั่น และข้าวหมกไก่


ฟิลิปปินส์

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการปลูกข้าว

ฟิลิปปินส์มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีเกาะใหญ่ ๑๑ เกาะ ซึ่งมีพื้นที่รวมกันเท่ากับร้อยละ ๙๐ ของพื้นที่ทั้งหมดในประเทศ
ฟิลิปปินส์เป็นหมู่เกาะของเทือกเขาหินใหม่ พื้นที่ทุกเกาะมีภูเขาเป็นแกนกลาง มีที่ราบอยู่น้อยและเป็นที่ราบแคบ ๆ โดยมีที่ราบสำคัญคือที่ราบตอนกลางของเกาะลูซอน หรือที่ราบมะนิลา ซึ่งเป็นที่ราบที่ใหญ่ที่สุด มีลักษณะภูมิอากาศ อยู่ในโซนมรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดู โดยได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่นและดีเปรสชัน

วิถีการกินของคนฟิลิปปินส์ 

อาหารหลักในฟิลิปปินส์คือข้าว นิยมหุง นึ่ง บางครั้งนำไปผัดกับกระเทียมได้เป็นซีนางัก ซึ่งนิยมกินเป็นอาหารเช้าคู่กับไข่ทอดและไส้กรอก ในบางท้องที่จะนำข้าวไปผสมกับเกลือ กับข้าวที่คนฟิลิปปินส์กินกับข้าว คือ เลชอน (หมูย่างทั้งตัว), ลองกานิซา (ไส้กรอกฟิลิปปินส์), ตาปา (tapa ทำจากเนื้อวัว), ตอร์ตา (ไข่เจียว), อาโดโบ (ไก่และ/หรือหมูต้มในกระเทียม น้ำส้มสายชู น้ำมัน และซอสถั่วเหลืองเคี่ยวจนแห้ง), กัลเดเรตา (สตูเนื้อ) อาหารทะเลในน้ำซุปรสเปรี้ยว และปันสิต (ก๋วยเตี๋ยว)


อาหารฟิลิปปินส์มีเอกลักษณ์เนื่องจากมีการผสมผสานของอาหารที่มีรสเปรี้ยว รสหวาน รสเค็ม โดยการจับคู่อาหารที่มีรสต่างกันมารับประทานพร้อมกัน เช่น จานหนึ่งรสหวาน อีกจานหนึ่งรสเค็ม ตัวอย่างเช่น ชัมโปราโด (โจ๊กรสหวาน) คู่กับตูโย (ปลาเค็มตากแห้ง) ดีนูกูอัน (สตูว์เลือดหมูรสเปรี้ยว) กินกับปูโต (ขนมทำจากข้าวนึ่ง รสหวาน) ผลไม้ดิบรสเปรี้ยวจิ้มกับเกลือหรือกะปิ เป็นต้น

ตำนานที่เกี่ยวกับข้าวของคนฟิลิปปินส์

มีเรื่องเล่าสืบทอดมาว่ามีเทพองค์หนึ่งชื่อ โซโร(Soro) ต้องการจะสมรสกับหญิงสาวสวยชื่อ ฟิลิปิโน อลาฮาร์ (Filipino Alahar) แต่นางต้องการทดสอบความรักแท้ที่ Soro มีต่อนางก่อน จึงร้องขอให้ Soro ไปแสวงหาอาหารที่มีรสดีกว่าอาหารทุกชนิดที่นางเคยบริโภคมาให้ เทพโซโร ได้ทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่ แต่หาไม่ได้จึงจากนางไปโดยไม่กลับมาอีก นางรู้สึกเสียใจมากจนหัวใจสลาย และต่อมาที่หลุมฝังศพของนางได้มีต้นข้าวงอกขึ้นมา



ตารางข้อมูลการผลิต การบริโภค การส่งออกและนำเข้าข้าวในอาเซียน 






ประเทศ
การผลิต
(ล้านตัน/ปี)
การบริโภค
(ล้านตัน/ปี)
การส่งออก
(ล้านตัน/ปี)
การนำเข้า
(ล้านตัน/ปี)
ประชากร
(ล้านคน)
ไทย
๒๑
๑๐
-
๖๕
เวียดนาม
๒๖.๘
๒๐.๑
๐.๔
๙๒
พม่า
๑๐.๘
๑๐.๕
๐.๖
-
๕๖
กัมพูชา
๔.๕
๓.๖
๐.๙
-
๑๕
ฟิลิปปินส์
๑๑
๑๒.๙
-
๑.๕
๑๐๕
อินโดนิเซีย
๓๖.๙
๔๐
-
๑.๔
๒๕๑



อ้างอิง

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=924069

http://mekongcuisine.wordpress.com/category/%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%92%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%b2/

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=825777

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%8C

http://www.thairath.co.th/content/410043



No comments:

Post a Comment