Tuesday, November 18, 2014

ชุดความรู้กระบวนการผลิตข้าวของประเทศในอาเซียน

การปลูกข้าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
   
ฟิลิปปินส์

วิธีปลูกข้าวของชาวฟิลิปปินส์


ชนเผ่า Ifugao ที่อพยพจากประเทศไต้หวัน มาสู่ฟิลิปปินส์ เมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว มีวิธีปลูกข้าวแบบนาขั้นบันได ที่ถือเป็นการทาการเกษตรแบบยั่งยืนด้วยเทคนิคดั้งเดิม การทำนาโดยทั่วไปจะต้องใช้พื้นที่ราบ แต่ภูมิประเทศของฟิลิปปินส์เต็มไปด้วยภูเขาสูง มีที่ราบน้อย น้าและพื้นที่ในการทาการเกษตรจึงเป็นปัญหา ชาวอิฟูเกาจึงคิดวิธีทานาแบบขั้นบันได ที่ใช้แรงงานคนและเครื่องมือธรรมดาสกัดพื้นที่บนไหล่ให้เป็นชั้น ๆ ลดหลั่นลงมาเป็นขั้นบันได เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูก ปรับภูเขาให้เป็นแหล่งเพาะปลูกขนาดใหญ่ และสร้างระบบชลประทาน ทาทางระบายน้าลงมาเป็นขั้น ๆ ให้น้าจากด้านบนไหลลงมายังแปลงด้านล่าง ควบคุมปริมาณน้าจากธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการรักษาหน้าดินไม่ให้ถูกชะล้างไป นาขั้นบันไดส่วนใหญ่จึงตั้งอยู่ใกล้น้าตก เพราะสามารถนาน้าจากน้าตกมาใช้ในนาได้
เริ่มฤดูการเพาะปลูก โดยสมาชิกในครอบครัว พ่อแม่ลูกช่วยกันซ่อมแซมนาขั้นบันได และเตรียมเพาะกล้าข้าวสาหรับปักดา เมื่อต้นกล้าพร้อมก็ทาการดานาด้วยแรงงานคน

การเก็บเกี่ยว

เกี่ยวข้าวโดยใช้มือเด็ดข้าวทีละรวงๆ แล้วเอามามัดรวมกัน หรืออีกวิธีคือ ใช้มีดที่เรียกว่า บาตัด ค่อยๆ ตัดข้าวทีละรวง เอารวงข้าวเหล่านั้นมามัดรวมกันแล้วก็เอาคานไม้คัดตรงกลาง ลักษณะก็คล้าย ๆ กับชาวนาของไทยนั่นเอง


การสีข้าวหรือตำข้าว

วิธีการนำเมล็ดข้าวออกจากรวงก็จะใช้มือรูดข้าวออก จากรวง นำเมล็ดข้าวไปเทใส่ครกตำข้าวเพื่อตำเอาเปลือกออก จากนั้นนำข้าวที่ตำแล้วไปใส่ในกระด้ง ฟัดเอาเปลือกที่แตกแล้วออก นำมาตำซ้ำอีกครั้ง แล้วฝัดอีกที ข้าวเปลือกก็กลายเป็นข้าวสารพร้อมหุงแล้ว






การเก็บรักษา 

ข้าวจะถูกเก็บไว้ในบ้านอย่างดีอยู่เหนือเตาไฟที่ใช้ทำกับข้าว เพราะ “บรรพบุรุษบอกว่าให้เก็บข้าวแบบนี้แล้วจะมีความสุข เวลาทำกับข้าว ควันหรือความร้อนที่ออกจากเตาจะลอยผ่านข้าวปาลาวันที่เก็บไว้ข้างบน แล้วกลิ่นหอมของข้าวปาลาวันจะออกมา ทำให้หอมไปทั้งบ้าน”

 ชาวนาที่นี่จะปลูกข้าวปีละครั้งเดียวเท่านั้น เพราะเป็นการแสดงน้ำใจต่อผืนดินเพื่อให้ผืนดินได้พักหลังจากได้ทำหน้าที่ ตลอดช่วงฤดูเพาะปลูกที่ผ่านมา โดยพันธุ์ข้าวที่ปลูกจะเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่เรียกว่า “ปาลาวัน” มีลักษณะเหมือนข้าวดอยหรือข้าวไร่ของไทย

การหุงหรือการแปรรูปข้าว

ชาวฟิลิปปินส์บางพื้นที่นิยมหุงข้าวโดยผสมน้ำกะทิเข้าไปด้วยในการหุง บางพื้นที่ก็จะนึ่งข้าวและนำไปผัดกับกระเทียม นอกจากนี้ยังมีการทำให้ข้าวสุกด้วยการนำข้าวใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเผา

ผลิตภัณฑ์จากข้าวที่ประเทศฟิลิปปินส์แปรรูปมีดังนี้ แป้งข้าวเจ้า เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมขบเคี้ยวจากข้าว น้ำมันรำข้าว เค้กข้าว เป็นต้น






อินโดนีเชีย


วิธีปลูกข้าวของคนอินโดนีเชีย

ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเกาะ มีภูเขาสูงอยู่ตามเกาะต่าง ๆ มีพื้นที่ราบน้อย ส่วนใหญ่เป็นที่ราบบริเวณเชิงเขา ดังนั้นรูปแบบในการปลูกข้าวจึงนิยมปลูกข้าวแบบนาขั้นบันได ซึ่งถือเป็นรูปแบบการทำเกษตรกรรมที่สำคัญของชาวอินโดนีเซียบนเกาะชวาและบาหลี ชาวอินโดนีเชียจึงคิดค้นเรื่องระบบเพาะปลูกข้าวโดยอิงอยู่กับลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขา มีระบบการส่งน้ำที่ใช้กันมานาน อันประกอบด้วยเครือข่ายที่ซับซ้อนของทางส่งน้ำและอุโมงค์ที่เรียกว่า “Subak” โดยเจาะหินเป็นลักษณะอุโมงค์และสร้างรางไม้ไผ่เพื่อส่งน้ำขึ้นไปสู่ชั้นบนสุด และปล่อยให้ไหลลงสู่นาข้าวตามแรงดึงดูดของโลก

เมื่อเริ่มฤดูการเพาะปลูก ชาวอินโดนีเชียก็จะเตรียมดินด้วยการใช้ควายในการไถปรับสภาพพื้นที่ ต่อจากนั้นจึงเตรียมกล้าข้าวเพื่อปักดำ ชาวอินโดนีเชียบนเกาะชวาและบาหลียังดำนาด้วยแรงงานคน 

การเก็บเกี่ยว 

เมื่อข้าวออกรวงจนพร้อมเก็บเกี่ยวแล้ว ชาวอินโดนีเชียบนเกาะชวาและบาหลีจะเกี่ยวข้าวด้วยเคียว แล้วนำข้าวมารวมกัน นำข้าวที่มัดรวมกันมาตากแดดให้แห้ง ต่อจากนั้นฟาดเมล็ดข้าวออกจากต้นข้าว แล้วนำเมล็ดข้าวมาใส่กระด้งเพื่อฝัดข้าว

การสีข้าวหรือตำข้าว 

การทำให้ข้าวเปลือกกลายมาเป็นข้าวสารนั้น ชาวอินโดนีเชียจะตำข้าวเปลือกเพื่อกระเทาะเปลือกออกมาด้วยครกที่มีลักษณะยาวทำให้สามารถช่วยกันตำข้าวได้หลายคน จากนั้นจึงนำไปฟัดด้วยกระด้ง






การเก็บรักษา 
เมื่อขัดสีข้าวเปลือกมาเป็นข้าวสารแล้ว ชาวอินโดนีเชียก็จะนำมาเก็บไว้ในยุ้งข้าวเพื่อเป็นการปกป้องข้าวจากมดแมลงต่างๆ ยุ้งข้าวจะมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับรูปทรงบ้าน เช่น ยุ้งข้าวของชาวเกาะสุลาเวสีก็จะมีลักษณะเหมือนกับบ้านที่พวกเขาอยู่อาศัยเพียงแต่มีขนาดเล็กกว่า 




การหุงและการแปรรูปข้าว 

การหุงข้าวของชาวอินโดนีเชีย โดยเฉพาะบนเกาะบาหลีจะนิยมหุงข้าวให้เป็นสีเหลือง ที่เรียกว่า “นาซิ กูนิง” โดยจะใส่ขมิ้นลงไปในขณะที่หุงด้วย
ส่วนการแปรรูปข้าวของชาวอินโดนีเชียก็มีลักษะคล้ายๆ กับประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น แป้งข้าวเจ้า น้ำมันรำข้าว ขนมหรืออาหารที่ทำจากข้าวชนิดต่างๆ





เวียดนาม

วิธีปลูกข้าวของชาวเวียดนาม

การปลูกข้าวในพื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขงบริเวณเวียดนามใต้ จะมีขั้นตอนดังนี้

การเตรียมนา

การเตรียมนาของชาวเวียดนามจะใช้วิธีไถกลบซางข้าวให้กลายเป็นปุ๋ยในนา

การไถ การหว่าน

ชาวเวียดนามจะอาศัยแรงงานในบ้าน โดยการแบ่งแปลงปลูกข้าวเป็นแปลงเล็ก ๆ และผลัดเวียนกันปลูกไปเรื่อย ๆ ที่ละแปลง ข้าวจะผลิดอกออกผลในเวลาที่ต่างกัน ทำให้การไถ การหว่าน การเก็บเกี่ยวไม่พร้อมกัน จึงไม่ต้องอาศัยแรงงานจำนวนมาก ใช้แรงงานของคนในบ้านค่อย ๆ ทำกันไปเรื่อย ๆ การไถนายังใช้ควายเป็นแรงงาน จึงทำให้ประหยัดไม่มีต้นทุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ได้ปุ๋ยบางส่วนจากควาย พันธุ์ข้าวของเวียดนามจะมีขนาดเมล็ดสั้นกลม ลักษณะไม่เรียวยาว

การเก็บเกี่ยว 

ชาวเวียดนามจะใช้วิธีการเกี่ยวแล้วปล่อยให้ซางข้าวงอกใหม่อีก ๑ – ๒ ครั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการทำนาลงได้ โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนทำไปที่ละแปลง เมื่อเกี่ยวข้าวได้มาแล้วก็จะนำมาตาก









การสีข้าวหรือตำข้าว 
การสีข้าวเปลือกของชาวเวียดนามในแบบดั้งเดิมนั้นจะใช้เครื่องสีข้าวแบบมือหมุนอย่างที่เห็นในภาพด้านขวานี้
ซึ่งก็ใช้แรงงานคนมาช่วยกันสีข้าวจากข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร หากแต่ปัจจุบันชาวเวียดนามปลูกข้าวเพื่อการส่งออกเป็นจำนวนมากขึ้น ก็ทำให้นำเครื่องสีที่เป็นเครื่องจักรมาใช้สีข้าวกันมากขึ้น

การเก็บรักษา 

ชาวเวียดนามจะเก็บข้าวในยุ้งข้าวเพื่อป้องกันสัตว์ต่างๆไม่ให้เข้ามาทำลายข้าวเหมือนกับชาวไทย

การหุงและการแปรรูปข้าว
ชาวเวียดนามจะมีวิธีการหุงข้าวที่คล้ายๆ กับชาวจีน จะนิยมหุงข้าวต้มและข้าวสวย การหุงข้าวสวยจะมีทั้งแบบเช็ดน้ำและไม่เช็ดน้ำ

การแปรรูปข้าวของชาวเวียดนามที่ทำกันเป็นส่วนใหญ่ คือ แผ่นแป้งปอเปี๊ยะที่เป็นอาหารยอดนิยมของชาวเวียดนาม เส้นเฝอ (เส้นก๋วยเตี๋ยว) เป็นต้น




 

ลาว

วิธีปลูกข้าวของคนลาว
คนลาวมีวิธีปลูกข้าวแบบใช้แรงงานคนเป็นหลักและใช้ธรรมชาติมาปกป้องดูแลต้นข้าว ปุ๋ยที่ใช้ก็จะเป็นพืชและมูลสัตว์ที่ได้จากธรรมชาติ









 
การเตรียมดินนั้นยังใช้แรงงานของสัตว์ เช่น ควายในการไถที่นาเพื่อปรับสภาพให้พร้อมสำหรับปลูกข้าวในฤดูกาลถัดไป และวิดน้ำเข้าที่นา ต่อจากนั้นก็จะทำการเตรียมกล้าข้าวในช่วงเวลาเดียวกัน เมื่อกล้าข้าวเติบโตพร้อมแล้ว ก็จะร่วมแรงกันดำนาโดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปเป็นแรงงานในการช่วยเหลือกันภายในหมู่บ้าน

การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวข้าวของคนลาวมีลักษณะคล้ายกับคนอีสานในประเทศไทย คนลาวก็จะมาเอาแรงในการเกี่ยวข้าว คนลาวเกี่ยวข้าวด้วยเคียว เมื่อได้ข้าวจำนวนหนึ่งก็จะมัดรวมกัน นำไปข้าวที่มัดรวมกันไว้ไปฟาดกับไม้ เพื่อให้เมล็ดข้าวออกจากรวง ต่อจากนั้นจึงนำไปตากให้แห้ง

การสีข้าวหรือตำข้าว
เมื่อเมล็ดข้าวที่เกี่ยวมาแห้งแล้วจึงนำไปกระเทาะเปลือกออกด้วยการตำในบริเวณใต้ถุนบ้าน ใต้ถุนบ้านของคนลาวจะมีอุปกรณ์การตำข้าว ฝัดข้าวอยู่เรียงราย




การเก็บรักษา 
เมื่อกระเทาะเมล็ดข้าวออกมาเป็นข้าวสารแล้ว คนลาวก็จะเก็บข้าวไว้ในเล้าข้าวที่มีต้ถุนสูงพอสมควรเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ แมลง มอด เข้าไปทำลายข้าว






การหุงและการแปรรูปข้าว

ข้าวที่คนลาวปลูกจะเป็นข้าวเหนียว การหุงข้าวเหนียวของคนลาวจะใช้การนึ่งใส่หวดไม้ไผ่ที่มีหม้อนึ่งอยู่ใต้หวดไม้ไผ่
ข้าวเหนียวที่นึ่งแล้วคนลาวก็นิยมนำมาทำเป็นข้าวจี่ ข้าวแต๋น เป็นต้น

 

 

 

กัมพูชา

วิธีปลูกข้าวของชาวกัมพูชา 
การเตรียมดินของชาวกัมพูชาส่วนใหญ่จะใช้วัวในการไถปรับสภาพพื้นดิน หรือไม่ก็จะใช้วัวกับควายในการไถคราด มักจะไม่ได้ใช้ควายอย่างเดียวเหมือนกับคนไทย ระหว่างเตรียมดินก็จะทำการเตรียมกล้าด้วยการเลือกข้าวเปลือกเมล็ดดีๆ นำไปเพาะโดยใช้เศาฟางข้าวและปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลวัวและควายใส่ลงไปด้วย ระหว่างนี้ก็คอยดูแลรักษาจนราวๆ ๑๕ วัน ต้นกล้าก็จะเติบโตและนำไปดำในพื้นที่นาที่เตรียมไว้

การเก็บเกี่ยว 

เมื่อต้นข้าวออกรวงจนพร้อมเก็บเกี่ยวแล้ว ครอบครัวชาวนาในกัมพูชาจะมารวมกันเพื่อช่วยกันเกี่ยวข้าว การเกี่ยวข้าวของคนกัมพูชาก็จะใช้เคียวเกี่ยวข้าว เมื่อเกี่ยวได้จำนวนหนึ่งแล้วก็จะนำมามัดรวมกันเป็นมัดๆ ต่อจากนั้นจึงนำรวงข้าวที่เกี่ยวมาไปฟาดกับแคร่ไม้เพื่อให้เมล็ดข้าวหลุดออกจากรวง และกวาดเมล็ดข้าวที่ร่วงลงพื้นมารวมกัน หลังจากนั้นจึงนำเมล็ดข้าวไปผึ่งให้แห้งโดยตากแดดไว้ประมาณ ๑-๒ วัน จึงนำไปเก็บในเล้าข้าว

การสีข้าวหรือตำข้าว 


ชาวกัมพูชาจะนำข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในเล้าออกมาตำทีละไม่มาก แค่พอกิน การตำเป็นการกระเทาะเปลือกออกทำให้ข้าวเปลือกกลายเป็นข้าวสารที่สามารถนำไปหุงกินได้









การเก็บรักษา
ข้าวที่ผ่านการสีแล้วของชาวกัมพูชาก็จะ

เก็บรักษาไว้ในเล้าข้าวที่ยกพื้นไม่สูงมากนัก

เพื่อง่ายต่อการเคลื่อนย้ายหากเกิดน้ำท่วม






การหุงและการแปรรูปข้าว
 ชาวกัมพูชาจะมีวิธีการหุงข้าวสวยที่เหมือนกับชาวไทย และมีวิธีการนึ่งข้าวเหนียวที่เหมือนกับชาวลาว
 การแปรรูปข้าวของชาวกัมพูชาที่มักจะทำกันแทบทุกบ้าน คือ เส้นขนมจีน 
ข้าวหลาม เป็นต้น

 

 

พม่า

วิธีปลูกข้าวของชาวพม่า
พม่ามีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย มีทั้งที่เป็นราบลุ่มและทิวเขาที่สลับซับซ้อน ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม ส่งผลต่อวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน

วิธีปลูกข้าวสำหรับผู้คนในที่ราบลุ่มที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการเตรียมพื้นที่ ด้วยวัวควายย่ำและมีรถไถตาม ต่อจากนั้นจึงใช้วิธีปักดำด้วยแรงงานคน ลักษณะเป็นพื้นนาโล่งในที่ราบ บริเวณที่ใกล้แหล่งน้ำสำคัญสามารถทำนาได้ ๒-๓ครั้งต่อปี




ส่วนผู้ที่อาศัยตามพื้นที่เชิงเขาหรือไหล่เขาบริเวณชายขอบของประเทศ ใช้วิธีปักดำนาเป็นนาขั้นบันได อาศัยสภาพอากาศตามฤดูกาลหล่อเลี้ยงต้นข้าว จึงทำนาได้ปีละครั้งเท่านั้น และพื้นที่ชายขอบเหล่านี้ ยังคงมีปัญหาการสู้รบอยู่ จึงใช้ช่วงระยะเวลาที่ฝนตกไม่สามารถสู้รบกันได้เป็นช่วงเวลาในการปักดำทำนาเพื่อเก็บไว้เป็นเสบียงต่อไป





การเก็บเกี่ยว

เมื่อเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยว ชาวพม่าจะใช้เคียวเกี่ยวข้าว ที่ส่วนใหญ่มักจะเป็นกลุ่มผู้หญิงในหมู่บ้านที่บางครั้งก็อุ้มลูกจูงหลานมาช่วยกันเกี่ยวข้าว มัดรวมกันแล้ววางเป็นกองตากแดดไว้ให้แห้งเมื่อแห้งดีแล้ว กลุ่มผู้ชายก็จะมาฟาดมัดข้าวกับแผ่นไม้ที่วางเอียงไว้ให้เมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวง ร่วงลงพื้น ถ้าเมล็ดข้าวเปลือกยังมีความชื้นอยู่ ก็จะทิ้งไว้ที่ลานตากข้าวจนแห้งดีแล้วก็จะร่อนผ่านตะแกรงแล้วจึงนำไปบรรรจุถุงเพื่อเคลื่อนย้ายต่อไป

การสี

ก่อนเวลามื้ออาหาร ชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกมาตำเพื่อให้ได้ข้าวสารไปหุงรับประทาน อุปกรณ์ในการสีข้าวแบบดั้งเดิมนี้มีหลายรูปแบบ เป็นครกที่มีขนาดใหญ่แล้วตำด้วยมือ ส่วนภาพด้านข้างนี้เป็นครกกระเดื่องที่ใช้มือโยกหรือเท้าเหยียบคานที่ยกสากให้ตำข้าวของชาวเผ่า Lisu

ส่วนในพื้นที่ราบลุ่มเช่น คนพม่าในเมืองที่มีไฟฟ้าเข้าถึงก็จะเป็นโรงสีขนาดย่อมที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำ ในภาพเป็นโรงสีที่มีอายุเก่าแก่พอสมควร
การเก็บรักษา
เมล็ดข้าวเปลือกจะถูกเคลื่อนย้ายมาใช้ตะกร้าสานขนาดใหญ่วางไว้บนพื้นดินใกล้บ้าน บางบ้านก็วางตากแดดนอกบ้านไม่มีหลังคาคลุม แต่บางบ้านที่ตากข้าวไว้แห้งสนิทดีแล้วก็จะสร้าหลังคาชายคาบ้านให้ยื่นออกมาคลุมตะกร้าที่ใส่ข้าวเปลือกไว้ด้วย





การหุงและการแปรรูปข้าว

ชาว Karen ในพม่าตั้งแต่อดีตจะหุงข้าวด้วยกระบอกไม้ไผ่แล้วนำไปเผาในถ่านเพื่อให้สุก ทุกวันนี้วิธีการนี้ยังคงทำกันอยู่ในพิธีสำคัญและเพื่อการท่องเที่ยว ครัวปัจจุบันในที่ห่างไกล ก็ยังคงใช้เตาถ่านแต่เปลี่ยนแปลงภาชนะเป็นอลูมิเนียม
มีบางพื้นที่ในพม่าที่นำข้าวสารมาตำให้ละเอียดด้วยครกตำหรือครกกระเดื่องให้เป็นผงแล้วผสมน้ำแล้วนวดในครกเพื่อนำมาทำเป็นแผ่นประกอบอาหารหรือเป็นขนม

มาเลเชีย

วิธีปลูกข้าวของคนมาเลเซีย
ประเทศมาเลเซียมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยต่อการปลูกข้าวเป็นบางแห่ง เช่น ที่ราบใกล้ชายฝั่งทะเลแบบทางภาคใต้ของไทย ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ รัฐเคดาห์ เป็นรัฐที่ปลูกข้าวมากที่สุดในประเทศมาเลเซีย เพราะมีพื้นที่ราบที่เหมาะแก่การปลูกข้าว เป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่เลี้ยงคนมาเลเซียทั้งประเทศ
 วิธีปลูกข้าวของชาวมาเลเชียจะเริ่มจากการเตรียมพื้นที่ ด้วยการใช้ควายย่ำและมีรถไถตาม ต่อจากนั้นจึงใช้วิธีปักดำด้วยแรงงานคน ลักษณะเป็นพื้นนาโล่งในที่ราบ อยู่ใกล้บริเวณที่มีแหล่งน้ำสำคัญ ดังนั้น จึงสามารถทำนาได้ ๒-๓ ครั้งต่อปี

 การเก็บเกี่ยว

ประเทศมาเลเซียมีภูมิประเทศที่หลากหลาย ฤดูการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวก็แตกต่างตามสภาพภูมิอากาศ เช่น ในแถบที่ติดกับทางภาคใต้ของไทย ระยะเวลาเก็บเกี่ยวประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม การเก็บเกี่ยวข้าวก็ใช้เคียว แต่จะมีรูปร่างที่ยาวเรียวกว่าเมื่อเกี่ยวข้าวมาแล้วจะนำไปตากให้แห้งและนำเมล็ดออก นำมาตากในลาน ต่อจากนั้น นำข้าวไปฝัดด้วยกระจาดที่รูปร่างคล้ายบุงกี๋ของไทย



การสี

อุปกรณ์ที่ใช้ในภาพต่อมาเป็นครกกระเดื่องที่ใช้มือโยกหรือเท้าเหยียบคานที่ยกสากให้ตำข้าวและสามารถใช้ในการแปรรูปข้าวให้เป็นผงแล้วผสมน้ำแล้วนวดในครกเพื่อนำมาทำเป็นแผ่นประกอบอาหารหรือเป็นขนมได้

ในเมืองที่มีไฟฟ้าเข้าถึงก็จะนำข้าวเปลือกไปสีที่โรงสีข้าวใช้เครื่องจักรขนาดย่อมใช้ร่วมกันในหมู่บ้าน

 การเก็บรักษา

เมล็ดข้าวเปลือกจะถูกเคลื่อนย้ายมาใช้ตะกร้าสานขนาดใหญ่วางไว้บนพื้นไม้ในบ้าน มีฝาปิดไว้กันฝนบางส่วน

 การหุงและการแปรรูปข้าว

ชาวมาเลเซียตั้งแต่ในอดีตจะหุงข้าวด้วยกระบอกไม้ไผ่แล้วนำไปเผาในถ่านเพื่อให้สุก และมีวิวัฒนาการในการใช้ภาชนะและอุปกรณ์ในการประกอบอาหารที่ทำจากโลหะและเตาถ่าน

การแปรรูปข้าวในมาเลเซียนั้น จะเปลี่ยนข้าวให้เป็นผลิคภัณฑ์จากข้าวเจ้า เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว ข้าวโจ๊กอบแห้ง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีขนมที่ทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เช่น ขนมอาโปง ที่มีลักษณะคล้ายขนมถังแตกของไทย ส่วนใหญ่จะเรียกกันว่า “ขนมเบื้องมาเลย์”


No comments:

Post a Comment